วรรณยุกต์ไทลื้อ (ไม้นำเสียง)

 

  1) รูปวรรณยุกต์

    วรรณยุกต์หรือไม่นำเสียงของไทลื้อ คือ 
    1. ไม้หยัก  (ไม้เหยาะ - ล้านนา) คือ ไม้เอก ในภาษาไทย
    2. ไม้ซัด ᩶ (ไม้ช้าง/จ๊าง - ล้านนา) คือ ไม้โท ในภาษาไทย
    3. ไม้ก๋อเหนือ  เป็นเสียง 3 (เทียบได้กับไม้โทพิเศษ ปัจจุบันไม่ได้ใช้)
    4.ไม้สองเหนือ  เป็นเสียง 4 (เทียบได้กับไม้ตรี ปัจจุบันไม่ได้ใช้)
    5. ไม้สามเหนือ  เป็นเสียง 5 (เทียบได้กับไม้จัตวา ปัจจุบันไม่ได้ใช้)
    โดยปัจจุบันมีไม้นำเสียงที่ยังใช้อยู่คือ ไม้หยัก ᩵ และไม้ซัด ᩶ 

   2) เสียงวรรณยุกต์

    เสียงวรรณยุกต์ไทลื้อ มี 6 เสียง ได้แก่ 
    1. เสียงสามัญ ไม่มีรูป (บนอักษรต่ำ)
    2. เสียงจัตวา ไม่มีรูป (บนอักษรสูง)
    3. เสียงเอก มีรูปคือ ไม้หยัก  (บนอักษรสูง)
    4. เสียงโท มีรูปคือ ไม้หยัก  (บทอักษรต่ำ)
    5. เสียงโทพิเศษ มีรูปคือ ไม้ซัด ᩶ (บนอักษรสูง)
    6. เสียงตรี มีรูปคือ ไม้ซัด ᩶ (บนอักษรต่ำ)

    3) อักษรสูงต่ำกับวรรณยุกต์

     1. อักษรสูงและต่ำ
     อักษรต่ำ คือ ค ฅ ง ช ซ ย ด ท ธ น บ พ ภ ฟ ม ล ว ร (ฮ) อ (เอาะ) คฺว ฅฺว ซฺว
     อักษรสูง คือ ก ข หฺง จ ส ย ด ต ถ หฺน บ ป ผ ฝ หฺม หฺล หฺว ห อ กฺว ขฺว สฺว
ตารางที่ 1 แสดงคู่อักษรสูงและต่ำ
สูง

ᩉ᩠ᨦ

หฺง

หฺย

ᩉ᩠ᨶ

หฺน

ต่ำ

ᨿ

ᨯᩳ

ᨷᩳ

บอ
สูง

ᩉ᩠ᨾ

หฺม

ᩉ᩠ᩃ

หฺล

ᩉ᩠ᩅ

หฺว

ᨠ᩠ᩅ

กฺว

ᨡ᩠ᩅ

ขฺว

ᩈ᩠ᩅ

สฺว
ต่ำ

ᩋᩳ

ออ

ᨣ᩠ᩅ

คฺว

ᨤ᩠ᩅ

ฅฺว

ᨪ᩠ᩅ

ซฺว
     2. อักษรสูงและต่ำผสมวรรณยุกต์ 
ตารางที่ 2 ตัวอย่างการผันวรรณยุกต์ 6 เสียง
สามัญ เอก โท โทพิเศษ ตรี จัตวา
ᨣᩣ - คา ᨠ᩵ᩣ - ก่า ᨣ᩵ᩣ - ค่า ᨠ᩶ᩣ - ก้า ᨣ᩶ᩣ - ค้า ᨠᩣ - กา

ᨤᩣ - ฅา ᨡ᩵ᩣ - ข่า ᨤ᩵ᩣ - ฅ่า ᨡ᩶ᩣ - ข้า ᨤ᩶ᩣ - ฅ้า ᨡᩣ - ขา

ᨦᩣ - งา ᩉ᩠ᨦ᩵ᩣ - หฺง่า ᨦ᩵ᩣ - ง่า ᩉ᩠ᨦ᩶ᩣ - หฺง้า ᨦ᩶ᩣ - ง้า ᩉ᩠ᨦᩣ - หฺงา

    

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาและอักขรตัวธัมม์ไตลื้อของสิบสองปันนา

พยัญชนะธรรมลื้อ