1) รูปวรรณยุกต์ วรรณยุกต์หรือไม่นำเสียงของไทลื้อ คือ 1. ไม้หยัก ◌ ᩵ (ไม้เหยาะ - ล้านนา) คือ ไม้เอก ในภาษาไทย 2. ไม้ซัด ◌ ᩶ (ไม้ช้าง/จ๊าง - ล้านนา) คือ ไม้โท ในภาษาไทย 3. ไม้ก๋อเหนือ ◌ ᩷ เป็นเสียง 3 (เทียบได้กับไม้โทพิเศษ ปัจจุบันไม่ได้ใช้) 4.ไม้สองเหนือ ◌ ᩸ เป็นเสียง 4 (เทียบได้กับไม้ตรี ปัจจุบันไม่ได้ใช้) 5. ไม้สามเหนือ ◌ ᩹ เป็นเสียง 5 (เทียบได้กับไม้จัตวา ปัจจุบันไม่ได้ใช้) โดยปัจจุบันมีไม้นำเสียงที่ยังใช้อยู่คือ ไม้หยัก ◌ ᩵ และไม้ซัด ◌ ᩶ 2) เสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ไทลื้อ มี 6 เสียง ได้แก่ 1. เสียงสามัญ ไม่มีรูป (บนอักษรต่ำ) 2. เสียงจัตวา ไม่มีรูป (บนอักษรสูง) 3. เสียงเอก มีรูปคือ ไม้หยัก ◌ ᩵ (บนอักษรสูง) 4. เสียงโท มีรูปคือ ไม้หยัก ◌ ᩵ (บทอักษรต่ำ) 5...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น