บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2023

ภาษาและอักขรตัวธัมม์ไตลื้อของสิบสองปันนา

รูปภาพ
  ไตลื้อสิบสองปันนา ตัวธัมม์ไตลื้อ 👉 อ่านอีบุ๊กแบบเรียนอักขรธัมม์ไตลื้อฟรี  👈 👉 ดาวน์โหลดเอกสารแบบเรียนอักขรธัมม์ไตลื้อฟรี (ไฟล์ pdf) 👈 👄 พยัญชนะ 🎤 สระ 🎵 วรรณยุกต์ เปรียบเทียบคำลาว ลื้อ และไทย แผนที่  ชาวไตและจ้วงในจีน นิทานไตลื้อสิบสองปันนา 🐤 เจ้าหญิงนกยูง 🐍 อีทุกข์กับเจ้าชายนาคา   🐞ชายหน้าจั๊กจั่น เพลงไตลื้อสิบสองปันนา 🎸 เสาะหาเมียรักมโนราห์ 🎺 แม่น้ำของเป็นสักขีจดจำ 🎹 รำวงเมืองเฮา (ฟ้อนม่วนส่าเมือง) 🎷 บ้านเมืองฅำใสส่าง 🎻 น้ำเหล้ายาใจ (สำนวนหญิงร้อง) 🎼 น้ำเหล้ายาใจ (สำนวนชายร้อง) กดลูกศรย้อนกลับหน้า En

คนหน้าจักจั่น

รูปภาพ
  ภาพที่ 1 : นิทานและตำนานของชาวไต : ไทลื้อในยูนนาน, จีน ที่มา : John Hoskin, Geoffrey Walton ; Translated by, Yi Ying, 1992. จาก : https://www.abebooks.co.uk/9789748871615/Folk-tales-legends-Dai-people-9748871614/plp 🐚🐚🐚🐚🐚🐚🐚 เรื่องย่อ    เจ้าหลวงนาสีมีมเหสี 7 คนแต่ละคนมีพระธิดา 1 องค์ ทำให้เจ้าหลวงนาสีมีพระธิดา 7 องค์ โดยพระธิดาทั้งหมดสวยงามมาก และได้อภิเษกสมรสไปหมดแล้ว เหลือแต่พระธิดาคนที่ 7 คือเจ้าหญิงบัวลา ที่สวยงามที่สุด เหมือนดอกไม้ มองด้านหน้าเหมือนดอกหงส์ มองทางซ้ายขวาเหมือนจำปาลาว มองทางหลังเหมือนดอกมะลิ ต่อมาเจ้าหลวงนาสีต้องการให้เจ้าหญิงบัวลาธิดาของตนแต่งงานกับเจ้าเป้าแสงคำบุตรชายของอัครเสนาบดีของตน แต่นางไม่ต้องการ และขอเจ้าหลวงนาสีจัดงานฉลองขึ้นเจ็ดวันเจ็ดคืน เพราะให้ตนเลือกคู่ โดยใช้การเสี่ยงพวงมาลัยแทน    เพราะความจริงวันหนึ่งเจ้าหญิงบัวลาได้ยินเสียงขลุ่ยที่ไพเราะจึงให้คนใช้ไปตามคนเปล่าขลุ่ยมาให้พบ ทำให้ได้เคยพบกับรักกับหนุ่มรูปงามยากจนผู้หนึ่งซึ่งเขาได้ให้มีดดาบงาไว้ ส่วนเจ้าหญิงบัวลาก็มอบดอกไม้ทองคำให้ชายหนุ่มไป แต่นางลืมถามชื่อชายหนุ่มค...

อีทุกข์กับเจ้าชายนาคา

รูปภาพ
  ภาพ : 巴冷公主 (ปาลังกงจู๋) หรือ เจ้าหญิงปาลังของเผ่ารูไคของไตหวัน ที่มา : 陳景聰 (เฉินจิงคอง) 2010. จาก : https://www.eslite.com/product/1003114851971796 🐍🐍🐍🐍🐍🐍🐍 เรื่องย่อ     นานมาแล้วมีหญิงสาวยากจนชื่อ "อีทุกข์" (นางจน) อาศัยเป็นคนใช้ในบ้านเศรษฐีสามีภรรยาคนหนึ่งที่มีลูกสาวชื่อแสงคำ อีทุกข์ถูกภรรยาเศรษฐีและแสงคำใช้งานอย่างหนักทุกวัน วันหนึ่งอีทุกข์เห็นมะม่วงสุกบนต้นมะม่วงต้นสูงมากอยากกินแต่ไม่สามารถปีนขึ้นไปได้ จึงพูดว่าถ้าใครเด็กมะม่วงให้ตนกินจะยอมแต่งงานด้วย บังเอิญบนต้นไม่มีงูเหลือมตัวหนึ่งงูตัวนั้นก็เลยเด็ดมะม่วงลูกนั้นให้อีทุกข์และกลายเป็นสามีของนาง นางจึงพางูเหลือมตัวนั้นกลับบ้านในฐานะสามี เมื่อภรรยาเศรษฐีและนางแสงคำรู้เรื่องด้วยความรังเกียจและกลัวจึงไล่อีทุกข์และสามีจากไป     อีทุกข์และสามีงูเหลื่อมจึงไปอาศัยที่กระท่อมร้างแห่งหนึ่ง วันหนึ่งสามีงูเหลื่อมจึงเล่าให้ฟังว่าความจริงตนนั้นเป็นเจ้าชายนาคา แต่หลงกลพวกปีศาจจนถูกสาปเป็นงูเหลื่อม ทางเดียวที่จะพ้นสาปคือต้องไปอาบน้ำที่แม่น้ำแห่งหนึ่งให้นางตามไปด้วย โดยงูเหลื่อมจะไปอาบน้ำที่ต้นน้ำ และให้อีทุกข์...

เจ้าหญิงนกยูง

รูปภาพ
ภาพที่ 1 : ภาพนิทานเรื่อง "เจ้าหญิงนกยูง" ที่มา : Fei Su, Rong Xing &Jinming Zhu, 1952. จาก : https://www.imdb.com/title/tt0089788/ 🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦 เรื่องย่อ     นานมาแล้วเจ้าเมืองปัญจามีมเหสีคือนางจันทารังสี มีโอรสชื่อเจ้าสุธุน เมื่อเจ้าสุธุนโตเป็นหนุ่ม เจ้าเมืองปัญจาต้องการให้ลูกชายได้แต่งงาน แต่เจ้าสุธุนไม่รักหญิงคนใดที่พามาให้เจ้าสุธุนเลือกเป็นเมีย ทำให้เจ้าเมืองปัญจาโกรธมาก เจ้าสุธุนจึงออกไปเที่ยวกับพรานป่ามิตรสหายของตนใกล้เขาหิมพานต์ จึงได้พบน้องสาวคนที่ 7 ของเจ้าหญิงนกยูงทั้ง 7 นางที่พากันมาอาบน้ำที่หนองกลางป่าหิมพานต์พร้อมกับพี่สาวอีก 6 คน    เจ้าสุธุนเห็นหญิงงามก็รักทันที พรานป่าจึงพาเจ้าสุธุนไปหาเจ้ามังกรผู้ที่เจ้าสุธุนเคยช่วยให้พ้นภัยจากการถูกนกยักษ์จับไป เจ้ามังกรเล่าให้ฟังว่า นางคือนางมโนราห์ ลูกสาวของเจ้าเมืองไกลาส มีเสื้อนกยูงทิพย์ ใส่แล้วเปลี่ยนเป็นนกยูงได้ มักจะมาอาบน้ำที่ทะเลสาปทุก ๆ 7 วัน กับพวกพี่สาว จึงแนะนำให้เจ้าสุธุนรออยู่ในป่านี้จนกว่านางจะกลับมา แล้วให้เก็บเสื้อนกยูงของนางไว้ เพื่อจะได้ขอนางแต่งงาน    พรานป่าจึงใช้ให้ลิงที่ตนเล...

วรรณยุกต์ไทลื้อ (ไม้นำเสียง)

รูปภาพ
    1) รูปวรรณยุกต์     วรรณยุกต์หรือไม่นำเสียงของไทลื้อ คือ      1. ไม้หยัก  ◌ ᩵   (ไม้เหยาะ - ล้านนา) คือ ไม้เอก ในภาษาไทย     2. ไม้ซัด  ◌ ᩶  (ไม้ช้าง/จ๊าง - ล้านนา) คือ ไม้โท ในภาษาไทย     3. ไม้ก๋อเหนือ  ◌ ᩷   เป็นเสียง 3 (เทียบได้กับไม้โทพิเศษ ปัจจุบันไม่ได้ใช้)     4.ไม้สองเหนือ  ◌ ᩸   เป็นเสียง 4 (เทียบได้กับไม้ตรี ปัจจุบันไม่ได้ใช้)     5. ไม้สามเหนือ  ◌ ᩹   เป็นเสียง 5 (เทียบได้กับไม้จัตวา ปัจจุบันไม่ได้ใช้)     โดยปัจจุบันมีไม้นำเสียงที่ยังใช้อยู่คือ ไม้หยัก  ◌ ᩵  และไม้ซัด  ◌ ᩶     2) เสียงวรรณยุกต์     เสียงวรรณยุกต์ไทลื้อ มี 6 เสียง ได้แก่      1. เสียงสามัญ ไม่มีรูป (บนอักษรต่ำ)     2. เสียงจัตวา ไม่มีรูป (บนอักษรสูง)     3. เสียงเอก มีรูปคือ ไม้หยัก  ◌ ᩵   (บนอักษรสูง)     4. เสียงโท มีรูปคือ ไม้หยัก  ◌ ᩵   (บทอักษรต่ำ)     5...

เทียบคำลาว ลื้อ และไทย รูปเขียน

รูปภาพ
  คำลาว - คำลื้อ – คำไทย (รูปเขียน) สันไจ ( ສັນໄຈ ) – สญฺไช ( ᩈᨬᩱ᩠ᨩ ) – สัญชัย โตดสะ ( ໂຕດສະ ) - โทสฺส ( ᨴᩰᩔ ) – โทษะ เวดสันตะระ ( ເວດສັນຕະຣະ ) – เวสฺสนฺตร   ( ᩮᩅᩔᨶ᩠ᨲᩁ ) - เวสสันดร กิมหันตะ ( ກິມຫັນຕະ ) - คิมฺหนฺต ( ᨣᩥᨾ᩠ᩉᨶ᩠ᨲ ) – คิมหันตะ (ฤดู) ปันทุ อ่าน ปันตุ ( ປັນທຸ ) – พนฺธุ ( ᨻᨶ᩠ᨵᩩ ) – พันธุ เสถี ( ເສຖີ ) - เสฐี ( ᩈᩮᨮᩦ ) – เศรษฐี มัดซิมมะ ( ມັດຊິມມະ ) – มชฺฌิมฺม ( ᨾᨩ᩠ᨫᩥᨾ᩠ᨾ ) – มัชฌิมะ ฯลฯ กดลูกศรย้อนกลับหน้า En

ภาษาลาว มี ค ควาย กับ ง วัว (งัว)

รูปภาพ
    อักษรลาว มี ค ควาย กับ ง งัว (วัว) .... ກ ໄກ່ ก.ไก่     ຂ ໄຂ່ ข.ไข่    ຄ ຄວາຍ ค.ควาย    ງ ງົວ ง.งัว(วัว) ຈ ຈອກ จ.จอก(แก้ว)   ສ ເສືອ ส.เสือ   ຊ ຊ້າງ ซ.ซ้าง(ช้าง)    ຍ ຍຸງ  ญ.ญุง  (ยุง) ດ ເດັກ ด.เด็ก   ຕ ຕາ ต.ตา    ຖ ຖົງ ถ.ถง(ถุง)   ທ ທູງ ท.ทุง(ตุง-ธง)   ນ ນົກ น.นก ບ ແບ້ บ.แบ้(แพะ)   ປ ປາ ป.ปา(ปลา)   ຜ ເຜິ້ງ ผ.เผิ้ง(ผึ้ง)   ຝ ຝົນ ฝ.ฝน   ພ ພູ พ.พู(ภูเขา)   ຟ ໄຟ ฟ.ไฟ   ມ ແມວ ม.แมว ຢ ຢາ อย.ยา   ລ ລີງ ล.ลิง   ວ ວີ ว.วี(พัด) ຫ ຫ່ານ ห.ห่าน ອ ໂອ อ.โอ (ขันน้ำ) ຮ ເຮືອນ ฮ.เฮือน (บ้าน) ... สรุป อักษร ไทย ลาว ลื้อ ที่เรียกเหมือนกันคือ ก ไก่ ข ไข่ ส เสือ ช ช้าง ถ ถุง  ป ปลา ผ ผึ่ง ล ลิง อักษรเฉพาะ ลาว และลื้อ ที่เรียกเหมือนกันคือ ท ทุง (ตุง-ธง) น นก อักษรเฉพาะที่ ไทยและลาว ที่เรียกเหมือนกันคือ ค ควาย ด เด็ก (อักษรลื้อใช้ ฑ ดอย แทน ด เด็ก) และอักษรลาวไม่มี ฏ วรรค กับอวรรค ...